@-*-mafiaking@*-
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  68lbs
@-*-mafiaking@*-
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  68lbs
@-*-mafiaking@*-
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


ดินเเดนราชามาเฟีย
 
บ้านPortalLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
princedeamon
Webmaster
Webmaster
princedeamon


กล่องมาเฟีย กล่องมาเฟีย : กล่องวองโกเล่วายุ
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Eioio
ชื่อเล่น ชื่อเล่น : เเอล
จุกนม จุกนม : จุกนมวายุ
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  8z8mf
อาชีพ/งานอดิเรก อาชีพ/งานอดิเรก : พิทักษ์วองโกเล่
อารมณ์ อารมณ์ : ไม่มีที่ติด
เหรียญตรา เหรียญตรา : ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  U299nฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Fz312ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Yy313ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Nw314ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Cs315ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Ryoheiฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Mokuroฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Hr318ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Vk281ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Adminฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Id280ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Kakashiฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Medal118ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Medal124ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  61279ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Primoฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Rw278ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Tx282
อาวุธ&อุปการณ์ อาวุธ&อุปการณ์ : X - Glove Ver.2
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Gnnhl
สามง่าม
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Samyam

สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยง : จระเข้ไฟ
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Salamander
เเหวน เเหวน : เเหวนวองโกเล่วายุ V.2
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  34767411761629854201
จำนวนข้อความ จำนวนข้อความ : 92
เหรียญ มาเฟีย เหรียญ มาเฟีย : 5608
คะเเนน คะเเนน : -1
วันที่สมัคร วันที่สมัคร : 12/10/2010
อายุ อายุ : 25

ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน    ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน  I_icon_minitimeWed Oct 13, 2010 5:42 am

ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน

วิธีการฝึกลมปราณนี้ เป็นวิธีฝึกการหายใจให้เกิดความเคยชิน และสืบเนื่องจนเป็นนิสัยที่ดีของการหายใจ เพื่อใช้นำการหายใจในการฝึกปฏิบัติสมาธิจิตทุกๆครั้ง และหลังจากออกจากสมาธิแล้ว
อนึ่งเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึก “ลมปราณ ” พร้อมทั้งข้อปฏิบัติระหว่างฝึกนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกปฏิบัติจิตด้วย ส่วนท่าฝึกใช้ร่วมกันได้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้เขียนรวมไว้ในที่นี้

ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
ก่อนอื่น ใจเย็นๆ นั่งลงหายใจตามปรกติก่อน สัก 1 หรือ 2 นาที ถ้าเหนื่อยมาจากงาน หรือเพิ่งเดินทางมาถึง นั่งพักสักครู่ก่อน เพื่อให้ใจสงบลงพร้อมที่จะฝึกต่อไป

จากนี้ เลือกท่าฝึกที่เหมาะสมกับสังขารท่านท่าใดท่าหนึ่ง โดยปกติคนเราจะหายใจช่วงสั้นและตื้นไม่ได้ใช้ความสามารถของปอดที่สามารถขยาย และหดอย่างเต็มที่ จึงทำให้ปอดไม่ได้หายใจเอาอากาศดีเข้าและขับอากาศเสียออกจากร่างกายอย่างเต็มที่ ปอดจึงไม่สามารถฟอกโลหิตให้สดใสสมบูรณ์ดีเท่าที่ควรเป็นผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย

การฝึก “ ลมปราณ ” ต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและรักษาท่านหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้
ฝึกลมปราณก็ต้องอาศัยการฝึกจิตให้สงบก่อน

การฝึกนี้ไม่ต้องใจร้อนรีบเร่ง ไม่ฝืนสังขารและฝืนจิตใจ ทำใจสบายๆ ค่อยๆฝึก และฝึกจนจิตรวมเป็นหนึ่ง จึงจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการฝึกลมปราณต่อไป

1. ทำใจให้สงบแล้วค่อยๆหลับลง หุบปากแล้วใช้ปลายลิ้นคํ้า แตะเพียงเบาๆที่เพดาน

2. หายใจตามปรกติวิสัยจนกว่าจะสงบ รวมจิตเป็นหนึ่งก่อน แล้วจึงหายใจเข้าค่อยๆ ลึกขึ้นด้วย วิธีถอนหายใจลึกเข้าๆจนสุดแรงดูดลม ลมหายใจนั้นจากหยาบให้ค่อยๆปรับให้ละเอียดมากขึ้น จากการหายใจตื้นให้ค่อยๆ ลึกจากการหายใจช่วงสั้นให้ค่อยๆเป็นช่วงยาวขึ้น ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละขั้นอย่างช้าๆ ตามลำดับ

แล้วค่อยๆผลักดันนำส่งลมหายใจที่ดูดเข้ามานั้นให้ตำลงๆ จนกว่าจะเลยสะดือลงไป 3 นิ้วเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”

การนำล่องลมหายใจให้ตำนี้ ไม่ควรจงใจใช้แรงบีบเกร็งกล้ามเนื้อให้ดันลมหายใจตำลงไป แต่เป็นการทำงานที่เรียกว่าจิตสำนึกว่า ความรู้สึกของจิตใจไปจับที่กองลม จึงสมมุติว่าเห็นกองลมที่หายใจเข้านั้นเป็นกลุ่มลมสีขาวกำลังถูกนำผ่านรูจมูก ผ่านหลอดลม ผ่านปอดแล้วผ่านช่องท้องและลงตํ่าจนถึงท้องน้อย ซึ่ง

ที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”เมื่อลมหายใจถึงจุด “ ตั้งช้าง ” แล้วค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออก ช่วงที่ลมหายใจเข้าและออก จะต้องฝึกให้ใช้ระยะเวลายาวเท่าๆกัน จิตใจก็จะค่อยๆสงบลงมา
การหายใจเข้าออกตามวิธีนี้ จะต้องเป็นลักษณะธรรมชาติ หายใจไม่มีเสียง ไม่ใจร้อนรีบเร่ง การหายใจเป็นไปอย่างมั่นคง เชื่องช้า ต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ละเอียดนิ่มนวล ลึก ยาว
ลักษณะการฝึกการหายใจที่ถูกต้อง คือหายใจแล้วไม่รู้สึกลำบากและเหนื่อย ประสาทผ่อนคลายความตึงเครียด จิตใจสงบว่างเปล่า จึงเป็นการถูกต้อง

3. เมื่อฝึกลมหายใจแบบนี้ผ่านไประยะหนึ่งจะ รู้สึกว่าลมหายใจเข้านั้น มีกระแสลมพัดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องตำจนถึงจุด “ ตั้งช้าง ” เหตุที่รู้สึกว่ามีกระแสลมนั้นก็เพราะว่าเวลาถอนหายใจเข้านั้น กล้ามเนื้อซี่โครงจะหดตัวดึงกระดูกซี่โครงให้ยกขึ้นและบานออก ทรวงอกจะพอกโตขึ้นช้าๆ ท้องน้อยก็จะค่อยๆหดเข้าช่วงนี้ปอดก็จะขยายพองตัวออกดูดอากาศดีเข้าเต็มที่
หน้า83

ปอดจึงขยายตัวพองโตตั้งแต่ใต้ขั้วปอดลงมาจนถึงปลายกีบของปอด และที่ใต้ปอดนั้นมี “ กระบังลม ” ที่มีโครงสร้างคล้ายพังผืดกั้นขวางระหว่างทรวงอก กับ ช่องท้อง เมื่อปอดขยายตัว ก็จะผลักดันให้กระบังลมหดตัวขยับลดตำลงมา พอตอนที่ปอดคลายลมหายใจออกนั้น กล้ามเนื้อซี่โครง และกระบังลมจะคลายตัวออกก็จะแฟบลงท้องน้อยก็จะพองคืนสู่สภาพปรกติ

การหายใจเข้าและออกเช่นนี้ จึงเกิดการบีบรัดและผ่อนคลายของอวัยวะภายในทรวงอก และที่ช่องท้องเป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวภายในมากขึ้น จึงรู้สึกว่าเป็นกระแสลมวิ่งตามลมหายใจที่เรียกว่า “ กระแสพัดพาภายในร่างกาย ”นั้น การเคลื่อนไหวเช่นนี้จึงเป็นการบริหารภายในร่างกาย
กำลังภายในเคลื่อนไหวภายในร่างกายหลังจากฝึก ลมปราณ หรือ ฝึก สมาธิ ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านอาจจะรู้สึกว่าท้องน้อยที่เป็นที่ตั้งของจุด " ตั้งช้าง " มีกลุ่มความร้อนเกิดขึ้น

ระยะเวลาที่ฝึกแล้วจะเกิดกลุ่มความร้อนนี้ใช้เวลาไม่เท่ากันทุกคน ต้องแล้วแต่ความสมบูรณ์ของสังขารและความพร้อมของจิตใจที่ได้ฝึกมาถูกต้อง เข้าหลักได้ดี เพียงใดก็จะเกิดผลเร็วเพียงนั้น บางท่านฝึกไปในทางจิตสงบ หลายท่านตั้งแต่เริ่มฝึกใหม่ๆ จนถึงขั้นจิตสงบอาจจะไม่มีกลุ่มความร้อนนี้เกิดขึ้นก็ได้

กลุ่มความร้อนนี้เราเรียกกันว่า “ กลุ่มกระแสกำลังภายใน ” เป็นพลังงานที่เกิดจากการฝึก ลมปราณ

กลุ่มความร้อนนี้เมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ อาจจะเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่งหรือเกิดความรู้สึกเพียงบางครั้งบางคราวของการฝึก แต่เมื่อใดที่เราจับจุดที่จะเกิดความสำเร็จนี้ได้แล้ว เมื่อคราวใดที่เกิด “ กลุ่มความร้อน ”นี้แล้วใจเย็นๆ อย่าเพิ่งลุกจากที่ ไม่ตื่นเต้นดีใจ ไม่เสียใจ ที่เพิ่งจะสำเร็จ ทำใจสบายๆ วางตัวเป็นกลาง คงฝึกลมปราณธรรมดาต่อไป โดยไม่ต้องเพิ่มแรงบีบรัดกดดันหรือว่า เกร็งบีบประสาท ไม่ช้า กลุ่มความร้อนนั้นก็จะร้อนมากพอสมควรที่เรียกว่า “ ไออุ่น ” (แต่ไม่ใช่รู้สึกว่าความร้อนมากจนกระวนกระวาย)

วิธีนำส่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ให้พัดพาโคจรไปทั่วร่างกาย
“ กลุ่มไออุ่น ” นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจจะมีโอกาสโคจรไปตามร่างกายเอง โดยเราไม่ต้องนำพาก็ได้ แต่เขียนไว้เป็นลักษณะแผนที่ การเดินทาง ของกลุ่มไออุ่น เพื่อว่าถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นที่ใดและจุดใดแล้ว ควรที่ทำอย่างไรต่อไป จะได้ไม่ต้องตกใจ ถ้าประสบกับเหตุการณ์นั้นๆ
เมื่อเกิด “ กลุ่มไออุ่น ” ที่จุด “ ตั้งช้าง ” แล้วยังคงฝึกลมปราณไปตามปรกติ

ตั้งสมมุติฐานจินตนาการว่า เมื่อฝึกลมปราณจนกระแสกำลังภายในทับถม เสริม เพิ่มเติม ที่กลุ่ม ไออุ่น มากขึ้นๆ กลุ่มไออุ่นก็เพิ่มจำนวนหนาแน่นรวมกลุ่มให_่มากขึ้นหนักขึ้น (ทั้งนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้นไม่ใช่แสร้งออกแรงบีบรัดบังคับกล้ามเนื้อ)หลังจากนั้นจึงรวบรวมความสนใจเพื่อใช้เสริมความรู้สึกมากขึ้น จะมีอาการคล้ายๆกับ กำลังถ่ายอุจจาระอยู่ และเมื่อฝึกไปๆอาจจะรู้สึกว่ากำลังถ่ายออกมาจริงๆ ขอให้อั้นกลั้นไว้ก่อนฝึกต่ออีกระยะหนึ่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ก็จะไหลผ่านจุด “ ฝีเย็บ ” (ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างช่องถ่ายเบากับทวารหนัก) มีข้อสังเกต คือ มีกลุ่มไออุ่นไหลผ่านต่อเนื่องหรือเหมือนกระแสไฟฟ้าไหลกระโดด ข้ามทวารหนัก อยู่ตลอด เวลาไปสู่จุดก้นกบ (ตำแหน่งนี้อยู่ที่ปลายสุดของกระดูกสันหลัง) เมื่อกลุ่มไออุ่น รวมถึงจุดก้นกบแล้ว ก็จินตนาการต่อว่า นำกลุ่มไออุ่น ส่งต่อขึ้นไปกระดูกสันหลัง (การนำส่งช่วงนี้ จะรู้สึกว่า มีอาการหดช่องทวารหนักขึ้นไป) กระแสกลุ่มไออุ่นก็จะผลักดันขึ้นสันหลังเอง (โดยไม่ต้องแสร้งชักนำ)
ระหว่างที่ไออุ่น ยังเคลื่อนไหวโคจรไปสู่ทั่วร่างกายนั้น ก็ยังคงหายใจฝึกลมปราณเสริมทับถมให้กับจุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป เหมือนกับว่า เรากรอกนํ้าเติมใส่ที่กรวยอยู่ตลอดเวลา เป็นการผลักดันนํ้าที่ไหลไปก่อน และนํา(กลุ่มไออุ่น) นั้นก็จะไหลไปตามท่อ คือ ผ่านตามจุดต่างๆของร่างกาย “ กลุ่มไออุ่น ” ก็ไหลขึ้นตามกระดูกสันหลัง ผ่าน “ จุดบั้นเอว ” ผ่านขึ้นไปที่ “ จุดคอพับ ” (จุดนี้อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังช่วงระหว่าง กระดูกต้นคอต่อกับไหล่พอดี สังเกตได้จากเวลาพับคอ จะมีกระดูกนูนขึ้นมาตรงจุดนั้น ) ขึ้นผ่าน “ จุดท้ายทอย ” (จุดที่กระดูกคอต่อกับหัวกะโหลก) ขึ้นไปสู่"จุดกระหม่อม" (ตรงกลางของหัวกะโหลกตำแหน่งนี้สังเกตได้จากตอนที่เด็กยังอ่อนๆอยู่ กลางกระหม่อมนั้น จะผุดขึ้นลงตามกระแสผลักดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดขึ้นมา หล่อเลี้ยงจุดนั้น) จากนั้น ก็เคลื่อนผ่านกระหม่อม มายัง “ จุดหน้าผาก ” (กึ่งกลางระหว่างคิ้ว) ลงสู่ “ จุดลิ้นไก่ ” (จุดนี้อยู่รอยต่อระหว่างโคนลิ้นกับลิ้นไก่ที่เพดานปาก )และไหลผ่านลงมา “จุดกึ่งกลางของกระดูกหน้าอก ” (อยู่กึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าหรือเรียกว่าใต้จุดคอหอย)ลงสู่จุดกลางอก (จุดผ่ากลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) ผ่านสะดือและลงสู่ “ จุดตั้งช้าง ” อีกครั้ง โคจรหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาที่นั่งฝึกอยู่

ยังมีอีกกระแสหนึ่ง เรียกว่า “ กระแสขวาง ”หรือเรียกว่า “ กระแสเข็มขัดรัดเอว” ฝึกลมปราณไปพักหนึ่งแล้ว อาจจะเกิดกระแสขวางนี้ขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ คือเมื่อเริ่มมี “ กลุ่มไออุ่น ” นั้น บางครั้งไม่วิ่งขึ้นสู่ศีรษะ

แต่กลับจะวิ่งเป็นแนวขวางบั้นเอว ครบรอบเป็นลักษณะ เข็มขัด ซึ่งบางครั้งก็จะวิ่งอ้อมจากซ้ายไปขวา บางครั้ง ก็จะวิ่งจากขวาไปซ้ายอย่างมีระเบียบโดยประมาณวิ่งรอบครั้งละ36 รอบ และเมื่อฝึกไปอีกระยะหนึ่ง กระแสไออุ่นก็จะกระจายไปทั่วถึงปลายเท้า ปลายมือ การเคลื่อนโคจรของไออุ่นนี้ อาจจะเคลื่อนโคจรผ่านไปทีละจุด และอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงสามารถผ่านอีกจุดหนึ่งจนถึงขั้นโคจรครบทุกจุดทั่วกาย บางท่านฝึกเป็นปีๆ จึงจะสามารถโคจรครบรอบกาย

ในระหว่างที่ “ กลุ่มไออุ่น ” จากลมปราณกำลังโคจรผ่านจุดต่างๆ ของร่างกาย อยู่นั้น เกิดมีความจำเป็นต้องออกจากสมาธิในขณะที่ไออุ่นยังโคจรไม่ครบรอบใดรอบหนึ่ง ก็ค่อยๆ คลายออกสมาธิได้ และเมื่อเสร็จธุระแล้ว ควรหาโอกาสฝึกต่ออีกในระยะเวลาที่ใกล้เคียงได้ยิ่งดีซึ่งก็เท่ากับเริ่มต้นใหม่ เพื่อเดินลมปราณให้คล่องสะดวก
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://m-king.darkbb.com
 
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
@-*-mafiaking@*- :: วิชาน่าฝึก :: วิชาลมปราณ-
ไปที่: